ประเภทของคันจิ 6 ชนิด

※หมายเหตุ เนื้อหาส่วนนี้ สรุปจากความเข้าใจของผู้เขียน กรุณาอย่านำไปอ้างอิงด้านวิชาการ เนื่องจากอาจไม่ถูกต้องตามหลักภาษา

ประเภทของคันจิ 6 ชนิด

ประเภทของคันจิ แยกตามต้นกำเนิด 4 ชนิด และแยกตามการใช้งาน 2 ชนิด

  1. 象形(しょうけい)เป็นคันจิประเภทที่พื้นฐานที่สุด เป็นอักษรภาพที่จำลองมาจากรูปร่างของสิ่งของ แต่ถ้าดูจากภาพรวมแล้ว อักษรประเภทนี้มีไม่มากนัก เช่น 人、子、女、手、目、耳、魚、馬、羊、門、車 เป็นต้น
  2. 指事(しじ)อักษรคันจิที่แสดงลักษณะ (นามธรรม) ของสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง เช่น 上、中、下、小、大、天、末 เป็นต้น
  3. 会意(かいい) อักษรคันจิ ที่เกิดจากการรวมกันของ คันจิสองประเภทแรก ทำให้เกิดความหมายใหม่ และการออกเสียงใหม่ เกิดเป็นอักษรคันจิตัวใหม่ขึ้นมา ตัวอย่างที่มักพบเห็น ก็คือ 林、森、休、男、炎、安、明、岩、鳴、困 เป็นต้น ในอักษรคันจิอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งถูกสร้างขึ้นในญี่ปุ่น ที่เรียกว่า 国字(和字)ก็มีอักษรประเภท会意 นี้จำนวนมาก เช่น 働、畑、峠、込、鰯、鰹 เป็นต้น ซึ่งเกือบทั้งหมด จะมีเฉพาะเสียงคุงโยะมิ เท่านั้น
  4. 形声(けいせい)อักษรคันจิ ที่เกิดจากการรวมกันของอักษรที่แสดงรูปร่าง (ความหมาย) และอักษรที่แสดงเสียง เกิดเป็นอักษรคันจิตัวใหม่ขึ้นมา เช่น 泳(エイ)、洗(セン)、流(リュウ)、注(チュウ)、浅(セン)、湖(コ)、洋(ヨウ) เป็นต้น (ตัวอย่าง ส่วนที่แสดงความหมายคือ「氵」 หมายถึงน้ำ) อักษรประเภทนี้ในคันจิทั้งหมด มีจำนวนมากที่สุด (80%) หากสามารถจับแนวทางของความหมาย และเสียงอ่านแต่ละประเภทได้แล้ว จะทำให้การเรียนคันจิ ง่ายและสนุกขึ้นอย่างมาก ***
  5. 転注(てんちゅう) เกิดจากความหมายของคันจิตัวเดิม พัฒนาขยายออกไป เกิดเป็นความหมายใหม่ขึ้น ซึ่งมีความใกล้ชิดกับความหมายเดิมอยู่บ้าง หรืออาจจะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เช่น 悪(わるい→にくむ)、好(よい→このむ)、道(人の通るみち→人のふみ行うべきみち)เป็นต้น
  6. 仮借(かしゃ)เกิดจากการยืมเสียงของคันจิตัวนั้นๆ ไปใช้ เกิดเป็นความหมายใหม่ หรือผสมเป็นคำๆ ใหม่ขึ้นมา เช่น 北(そむく・ホク→きた)、西(酒をしぼるかご→にし)、東(棒を中心にしてくくった包み→ひがし) นอกจากนี้ ยังมีคันจิประเภทที่ยืมเสียง เพื่อใช้ทับศัพท์คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น 釈迦(シャカ)、南無阿弥陀仏(ナムアミダブツ)、印度(インド)、英吉利(イギリス)、亜米利加(アメリカ)、亜細亜(アジア)เป็นต้น

形声文字(けいせいもじ)

ขอลงรายละเอียดของคันจิประเภทนี้ เนื่องจากมีสัดส่วนที่มากกว่าคันจิประเภทอื่นๆ อีกทั้ง หากสามารถจับแนวทางได้แล้ว จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนคันจิของทุกคนอย่างมาก


ดังตัวอย่างที่ผ่านมา ชุดคันจิที่แสดงความหมายเกี่ยวกับน้ำ จะมี「氵」เป็นส่วนที่แสดงความหมาย และอีกส่วนที่แสดงเสียง เช่นเดียวกันกับ คันจิที่เกี่ยวกับศีรษะหรือใบหน้าของคน จะมี「頁」เป็นส่วนที่แสดงความหมาย เช่น 頭、顔、額 เป็นต้น


โดยทั่วไป ส่วนที่แสดงความหมายจะเรียกว่า「意符」(いふ)และส่วนที่แสดงเสียงจะเรียกว่า「音符」(おんぷ)ส่วนที่แสดงความหมายกับเสียง อาจจะเป็นส่วน ซ้าย-ขวา, ขวา-ซ้าย, บน-ล่าง, ล่าง-บน, ใน-นอก, นอก-ใน, ซ้ายล่าง-ขวาบน, ซ้ายบน-ขวาล่าง ก็ได้

  • ซ้าย-ขวา:江(コウ)、河(カ)、源(ゲン)、漁(ギョ)、語(ゴ)、講(コウ)
  • ขวา-ซ้าย:放(ホウ)、攻(コウ)、政(セイ)、故(コ)、郡(グン)、群(グン)
  • บน-ล่าง:花(カ)、草(ソウ)、雲(ウン)、霧(ム)、霜(ソウ)、露(ロ)
  • ล่าง-บน:志(シ)、忠(チュウ)、悲(ヒ)、想(ソウ)、烈(レツ)、煮(シャ)
  • ใน-นอก:閣(カク)、閲(エツ)、闘(トウ)、囲(イ)、圏(ケン)、固(コ)
  • นอก-ใน:問(モン)、聞(モン)、悶(モン)、衡(コウ)
  • ซ้ายล่าง-ขวาบน:迫(ハク)、返(ヘン)、週(シュウ)、延(エン)、超(チョウ)、起(キ)
  • ซ้ายบน-ขวาล่าง:座(ザ)、庭(テイ)、廊(ロウ)、府(フ)、症(ショウ)、痴(チ)
อนึ่ง ในคันจิประเภท 形成文字 นี้ อาจจะมีคันจิที่คล้ายกับ 会意文字 รวมอยู่ด้วย ยกตัวอย่างเช่นคันจิต่อไปนี้ ส่วนที่แสดงเสียง ก็แสดงความหมายร่วมกันด้วย セイ:清(澄んだ水)、晴(澄んだ空の太陽)、静(争いをしずめる)、精(清らかな米)